Fire Hotspot Application
Update แอพพลิเคชั่นสำหรับการติดตั้ง Fire Hotspot Application ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ และพะเยา
พัฒนาโดย จังหวัดเชียงรายร่วมกับสำนักงานพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เนื้อหา |
การดำเนินงานในงานวิจัยนี้ |
วัตถุประสงค์ |
รายงานจุดความร้อนจากโดยอัตโนมัติจาก FIRM แบบอัตโนมัติ |
ฐานข้อมูลจุดความร้อน |
จุดความร้อนจาก FIRM |
การแจ้งเตือนอัตโนมัติ |
มี |
ระบบพิกัด |
UTM และ องศาละติจูด |
ระบบแผนที่ |
Google Map |
ระบบการทำงาน |
ทำงานด้วยตัวเอง 1 ระบบ |
รูปแบบการดำเนินงาน |
ระบบจัดการข้อมูลด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติทั้งระบบ มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลชื่อตำบลและอำเภอที่ได้จาก Google Map สามารถแจ้งเตือนได้ทันที โดยระบบนี้ข้อดี คือ ความยั่งยืนของระบบที่สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องในปีต่อๆ ไป (ทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ) แต่พบว่ามีข้อจำกัดด้านความถูกต้องของข้อมูลบริเวณเส้นแบ่งเขตการปกครอง เนื่องข้อมูลจะขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลเขตการปกครองของ Google map อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ เมื่อปรากฏจุดความร้อนผู้ใช้สามารถพิจารณาข้อมูลโดยการ Zoom รายละเอียดแผนที่ได้ |
สถานที่ดำเนินงาน |
เชียงราย พะยา แพร่ และน่าน |
การแสดงตัวอย่างข้อมูล |
มี |
ระบบปฏิบัติการ |
ดาวน์โหลดไฟล์ APK เวอร์ชั่นล่าสุด l เชียงราย l น่าน l แพร่ l พะเยา l
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การคัดกรองข้อมูลการเกิดจุดเผาไหม้
การคัดกรองข้อมูลการเกิดจุดเผาไหม้ที่อยู่ในขอบเขตจังหวัด และนำผลที่ได้มาทำการลงตำแหน่ง ตามแนวเขตการปกครอง ได้แก่ แนวเขตอำเภอ และแนวเขตตำบล จากการดำเนินงานในเป็นการดึงข้อมูลจุดความร้อนจากฐานข้อมูล FIRM ครอบคลุมพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการดำเนินงานส่วนนี้เป็นการสร้าง Algorithm เพื่อคัดกรองจุดความร้อนที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยพร้อมทั้งแสดงรายชื่อจังหวัด อำเภอ และตำบล โดยนำเอาค่าพิกัดละติจูด ลองกิจูดของจุดความร้อนแต่ละจุดมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่บนแผนที่ Google Map ดังรูป
จากรูปแสดงให้เห็นว่าจุดความร้อนที่ได้จาก FIRM นั้นจะไม่มีรายชื่อสถานที่ (ชื่อจังหวัด ชื่ออำเภอและชื่อตำบล) ในขณะที่ข้อมูลจาก Google Map มีรายชื่อจังหวัด อำเภอ และตำบลเป็นภาษาไทย การทำงานงานส่วนนี้ทีมพัฒนาได้เขียน Algorithm เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ เริ่มต้นจากเอาตำแหน่งจุดความร้อนต่างๆ จากฐานข้อมูล FIRM มาซ้อนทับลงบนแผนที่ Google Map เมื่อพบว่าข้อมูลทั้งสองซ้อนทับในตำแหน่งเดียวกัน ก็จะดำเนินงานดึงเอารายชื่อทั้งหมดมารวมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อไปสู่การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้ผู้ใช้ที่ได้เลือกจุดความร้อนบนแอพพลิเคชั่นได้ทราบข้อมูลสถานที่นั้นๆ ทำให้ง่ายต่อการเข้าปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ได้ทันที อย่างไรก็ตามความถูกต้องของข้อมูลบริเวณพื้นที่รอยต่อในบางกรณีอาจจะมีความคลาดเคลื่อนไป เนื่องจาก เป็นฐานข้อมูลเขตการปกครองที่ได้จาก Google Map (แต่ผู้ใช้ยังสามารถรับทราบได้ด้วยการดูข้อมูลได้จากแผนที่เมื่อได้การซูมข้อมูลแผนที่ในแอพพลิเคชั่น) ผลการดำเนินงานพบว่าระบบสารมารถดำเนินงานได้อัตโนมัติตามปกติตลอดเวลา โดยปราศจากการเข้าไปดำเนินการโดยมนุษย์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในระยะยาวต่อไป
ทีมพัฒนาจุดความร้อน